top of page
ความสำคัญ
         การเลี้ยงขันโตก เป็นประเพณีเลี้ยงอาหารร่วมกันหลายๆคน เป็นวัฒนธรรมและประเพณีของชาวเหนือที่สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบันโดยเฉพาะที่เชียงใหม่ และลำพูน
 
  • อาหารขันโตก
                ประกอบด้วย ข้าวนึ่งหรือข้าวเหนียว แกงอ่อม แกงฮังเล ไส้อั่ว แคบหมู น้ำพริกอ่อง ลาบ ผักต่างๆตลอดจนของหวานต่างๆ ซึ่งอาหารเหล่านี้จะตักใส่ถ้วยเล็กๆ วางไว้ในขันโตกจนครบ แล้วใช้ฝาชีครอบไว้จนกว่าพิธีแห่ขันโตกจะเสร็จ
 
  • การแห่ขันโตก  จัดเรียงลำดับดังนี้
๑. พานบายศรี
๒. ช่างฟ้อนเล็บ
๓. กลุ่มดนตรีกลองตึ่งโหน่ง (บางทีก็ให้อยู่นอกขบวน)
๔. ขันโตกเอก ขันโตกโทหรือขันโตกรอง
๕. กล่องข้าวใหญ่
๖. ขันโตกบริวาร
๗. กล่องข้าวเล็ก
๘. อาหารหวาน
 
  • การนั่งในการเลี้ยงขันโตก
           ผู้ชายจะนั่งขัดสมาธิหรือที่ทางเหนือเรียกว่า “ขดตะหวาย” ส่วนผู้หญิงจะนั่งพับเพียบ ทางเหนือเรียกว่า”นั่งป้อละแหม้”การละเล่นในการเลี้ยงขันโตก  นอกจากมีการจุดดอกไม้เพลิง (บอกไฟดอก) และตะไล (บอกไฟจักจ่า) แล้วจะมีชุดการแสดงต่างๆเช่น ฟ้อนเล็บหรือฟ้อนเทียน ฟ้อนดาบ ฟ้อนเจิง ฟ้อนสาวไหม ฟ้อนแม้ว ฟ้อนหริภุญไชย เป็นต้น
 
 

ประเพณีขันโตก

bottom of page